การ แต่งกายชุดปกติขาว ทั้งชายและหญิง เป็นชุดข้าราชการอีกอย่างหนึ่งที่นิยมใช้สวมใส่ในงานพิธีการที่สำคัญ ซึ่งมีชื่อเรียกอีกว่า “ชุดพิธีการ” ซึ่งชุดเครื่องแบบปกติขาวมีความเป็นมาโดยเริ่มต้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งมาจากชุดราชปะแตน โดยชุดปกติขาวนั้น มักจะสวมใส่ในการที่มีหมายกำหนดการของทางราชการ พระราชพิธี และรัฐพิธี
1. ความเป็นมาของการ แต่งกายชุดปกติขาว
ชุดปกติขาวข้าราชการ มีประวัติความเป็นมาจากเครื่องแบบราชการมหาดเล็ก ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยมีรากศัพท์จาก รา-ชา-แพตเทิร์น (ภาษาอังกฤษ Ra-Ja-Pattern) จากนั้นจึงเพี้ยนคำเป็น “ราชปะแตน”
โดยชุดดังกล่าวนี้ เป็นเครื่องแบบติดกระดุม 5 เม็ด ปิดคอเสื้อ และหน้าอกอย่างมิดชิด ไม่ต้องสวมเนคไท โดยเป็นชุดสุภาพที่ไม่ต้องเก็บชายเสื้อเข้าข้างในคล้ายแบบของยุโรป ทั้งนี้ก็เพื่อให้เข้ากับสภาพอากาศของประเทศสยาม (ชื่อเดิมของประเทศไทย)
ในสมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระราชประสงค์ให้ตัดชุดราชปะแตนให้เป็นเครื่องแบบของข้าราชการพลเรือน ซึ่งในสมัยนั้นเครื่องแบบของข้าราชการ ประกอบด้วย เสื้อคอปกตั้ง แขนยาวสีขาว กางเกงโจงสีกรมทา ถุงเท้ายาว และรองเท้าหนังหุ้มส้น
โดยภายหลังเมื่อหมายกำหนดพระราชพิธี รัฐพิธี ก็มีวิวัฒนการในการเปลี่ยนแปลงของเครื่องแบบข้าราชการมาทุกยุคทุกสมัย ซึ่งมีการเริ่มต้นตั้งแต่สมัยรัฐพิธี สำหรับ ส.ส. ที่ปรากฏครั้งแรก ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม
นับตั้งแต่ระยะเวลา 90 ปีที่ผ่านมา จากการเปิดรัฐสภาครั้งแรก จึงทำให้ผู้ที่ได้สวมเครื่องแบบชุดปกติข้าราชการนับว่าเป็นเกียรติอย่างยิ่งครั้งหนึ่งในชีวิต แต่ด้วยที่ยุคสมัยเปลี่ยนไป จึงทำให้การที่มีภาพบรรดา ส.ส. แต่งชุดข้าราชการปกติขาว ตาม Social Media ที่ทำเอาหลายคนต้องสงสัย
2. การ แต่งชุดปกติขาว ข้าราชการสำหรับผู้หญิง
การแต่งกายชุดปกติขาวสำหรับผู้หญิงนั้น ค่อนข้างที่จะมีรายละเอียดซับซ้อน โดยประกอบด้วย เสื้อสูทสีขาวชั้นนอก ซึ่งมีให้เลือกทั้งแบบคอแหลมหรือคอป้าน ติดกระดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5 เซนติเมตร 3 เม็ด
หากเป็นคอป้านจะต้องมีกระดุม 5 เม็ด มีกระเป๋าล่างเฉียงเล็กน้อย แต่ไม่ใบปกกระเป๋า ต่อมาจะเป็นเสื้อเชิ้ตสีขาวด้านใน พร้อมกับผูกเนคไทด์สีดำ และสวมคู่กับกระโปรงสีขาวยาวคลุมเข่า ถุงน่อง หรือถุงเท้ายาวสีเนื้อ และตามด้วยรองเท้าหุ้มส้น
3. การแต่งกายชุดปกติขาวสำหรับผู้ชาย
ส่วนการแต่งชุดปกติขาวสำหรับผู้ชายนั้น ก็จะไม่ค่อยมีรายละเอียดที่ซับซ้อนมากนัก ก็จะมีเพียงแค่เสื้อราชปะแตนแบบคอปิดสีขาวแขนยาว มีกระเป๋า พร้อมใบปิดกระเป๋าตรงอกเสื้อทั้ง 2 ข้าง สวมใส่คู่กับกางเกงขายาวสีขาว ติดกระดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ขนาดใหญ่ 5 เม็ด พร้อมกับสวมใส่ถุงเท้าสีดำ และรองเท้าหนังหุ้มส้นสีดำ
4. การติดเครื่องหมายชุดปกติขาว มีอะไรบ้าง เช็คลิสต์ดู
ซึ่งการติดเครื่องหมายชุดปกติขาว จะมีเครื่องหมายอยู่ 4 เครื่องหมายหลัก เช่น
- เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ทำจากผ้าแพรแถบ ไม่มีพลาสติกหุ้ม โดยจะได้รับพระราชทานเครื่องฯ ตามชั้นที่ได้รับการเลือกจากนายกรัฐมนตรี ซึ่งเครื่องหมายดังกล่าวจะติดเหนือกระเป๋าเสื้อด้านซ้าย 0.5 เซนติเมตร
- เครื่องหมายอินทนู แถบสีทองกว้าง 1 เซนติเมตร ประดับด้วยช่อชัยพฤกษ์ด้วยไหมสีทอง 3 ดอก โดยของผู้ชายจะมีขนาดใหญ่ และผู้หญิงจะมีขนาดเล็ก
- เครื่องหมายสังกัด มีลักษณะโลหะโปร่งสีทองรูปตราราชสีห์ จะไม่เคลือบพลาสติก โดยจะติดในบริเวณปกคอเสื้อด้านหน้าทั้ง 2 ข้าง โดยของผู้ชายจะมีขนาดใหญ่ และผู้หญิงจะมีขนาดเล็ก
- กระดุมตราครุฑพ่าห์ เป็นกระดุมโลหะสีทอง มีลักษณะเดียวกันทุกสังกัด
5. โอกาสที่เหมาะสมในการ แต่งชุดปกติขาว และควรแต่งในโอกาสใดบ้าง
- งานพิธีเปิดอาคารสถานที่ราชการ ในพิธีเปิดสถานที่ราชการ ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการชายหรือหญิง สามารถสวมชุดปกติขาว เพื่อความเป็นระเบียบ สวยงาม
- พิธีวางพวงมาลาอนุสาวรีย์ต่างๆ ซึ่งงานพิธีวางพวงมาลาอนุสาวรีย์จะมีบุคคลสำคัญหรือระดับสูงเข้าร่วมพิธีเป็นจำนวนมาก ดังนั้นการแต่งกายด้วยชุดปกติขาวจึงเป็นชุดที่เหมาะสมที่สุด
- การเข้าเฝ้าหรือรับเสด็จเชื้อพระวงศ์ งานเข้าเฝ้าหรือรับเสด็จเชื้อพระวงศ์ ข้าราชการทุกคนจำเป็นต้องสวมชุดปกติขาว เพื่อความเป็นระเบียบ สวยงาม และเป็นการให้เกียรติแกเชื้อพระวงศ์อีกด้วย
- การไว้ทุกข์ ซึ่งการไว้ทุกข์สำหรับข้าราชการจะต้องมีการแต่งกายด้วยชุดปกติขาว และพันปลอกผ้าสีดำรอบแขนเสื้อ
6. ข้อห้ามในการใส่ชุดปกติขาว มีอะไรบ้างไปดูกัน
- ควรอยู่ในกิริยาที่สำรวม ไม่ทำท่าทางที่ไม่เหมาะสม เพื่อเป็นการให้เกียรติแก่ต้นสังกัด
- สำหรับข้าราชการหญิง ไม่ควรปล่อยผมให้ยาว โดยที่ไม่มัดรวบหรือเกล้าผม โดยขัดต่อข้อห้ามข้อห้ามในการใส่ชุดปกติขาว
7. การแต่งกายชุดปกติขาวครู ต้องแต่งตัวอย่างไร ให้ถูกระเบียบ
ซึ่งการแต่งกายชุดปกติขาวครูก็ไม่ได้มีความแตกต่างจากข้าราชการอื่นๆ มากนัก แต่จะมีความแตกต่างอยู่อย่าง คือ ตำแหน่งครูผู้ช่วยชายจะมีเพิ่มเติมในส่วนของ อินทรธนู 3 ช่อ กระดุมหลังตัน 3 เม็ด แพรแถบแต่ไม่มีเครื่องราชอิสริยาภรณ์ขนาด 9 เมตร และกนกคอ
ส่วนครูผู้ช่วยหญิง ประกอบด้วย อินทรธนู 3 ช่อ กระดุมหลังตัน 3 เม็ด แพรแถบแต่ไม่มีเครื่องราชอิสริยาภรณ์ขนาด 9 เมตร และเนคไทด์สีดำ
บทความแนะนำ
เช็กลิสต์ 7 สีเสื้อสูท ที่คนไทยเลือกใส่มากที่สุด มีสีอะไรบ้าง ? แต่ละสีเหมาะไปงานไหนบ้าง ? บทความนี้มีคำตอบ